เสียงไร้สายอันตราย

   เสียงไร้สายอันตราย

   ความสะดวกสบายที่เราได้รับจากการใช้โทรศัพท์มือถือ อาจทำให้ลืมนึกถึง
อันตรายจากผลข้างเคียงบางด้าน นอกจากเรื่องสุขภาพที่กล่าวถึงกันอยู่บ่อยๆแล้ว แบตเตอรี่ที่ให้พลังงานแก่โทรศัพท์มือถือก็เป็นประเด็นอันควรให้ความสนใจ เพราะใน แบตเตอรี่ของโทรศัพท์มือถือนั้น มีสารอันตรายอยู่หลายชนิด ที่อาจเป็นมรดกตกทอดที่น่ากลัวสู่คนรุ่นหลัง

           ในจดหมายข่าว "ต้นคิด" ของสำนักพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ เมื่อเดือนที่ผ่านมา ให้ข้อมูลว่า ไส้แบตเตอรี่ที่ใช้ใน
ถ่านโทรศัพท์มือถือมี 2 ชนิด คือ ชนิด NICAD
เซลล์นิคเกิลแคดเมียม) และชนิด
Hydride (เซลล์นิคเกิลเมทัลไฮไดรด์)
      

ถ่านชนิด NICAD (เซลล์ นิคเกิลแคดเมียม) เป็นขยะอันตรายก่อโทษกับสุขภาพทุกคน และเกิดมลภาวะในสิ่งแวดล้อม เนื่องจากขั้วลบของถ่านนี้เป็นแคดเมียมไฮดรอกไซด์
เมื่อบรรจุไฟแล้วจะกลายสภาพเป็นแคดเมียม ซึ่งเป็นสารก่อพิษในสิ่งมีชีวิตทุกชนิด
           แคดเมียมเป็นโลหะหนัก หากได้รับเข้าไปทีละน้อยจากการหายใจหรือกินดื่ม จะเกิดพิษเรื้อรังทีละน้อย อาการสำคัญคือ ไตอักเสบ ไตวาย ข้อเสื่อม ถุงลมปอดโป่งพอง ระบบหายใจผิดปกติ และทำให้เกิดมะเร็งในอวัยวะหลายชนิด
               ที่น่ากลัวคือแคดเมียมที่ถูกทิ้งจากการอุตสาหกรรมหรือแบตเตอรี่จะปนเปื้อน เข้าไปในดิน น้ำ ซึ่งสัตว์และพืชจะรับเข้าไปในตัว เมื่อคนกินสัตว์หรือพืชเข้าไปจะได้รับแคดเมียม
สะสมเข้าไปในปริมาณที่เกิดพิษได้ง่าย
  ขณะนี้มีการจดทะเบียนโทรศัพท์มือถือกันมากขึ้น และจำนวนไม่น้อยที่ใช้แบตเตอรี่เซลล์นิคเกิลแคดเมียม ซึ่งแต่ละก้อนมีอายุการใช้งานราว 1 ปี หากเราทิ้งแบตเตอรี่เหล่านั้นอย่างไม่ถูกวิธี เท่ากับว่าเรากำลังทิ้งขยะพิษจำนวนหลายล้านก้อนต่อปี นับเป็นเรื่องน่ากลัวยิ่งนัก
           ก่อนทิ้งแบตเตอรี่มือถือครั้งต่อไป อย่าลืมแยกขยะอันตรายออกมาเสียก่อน ไม่ควรรวมกับขยะทั่วไป แต่ข่าวร้ายก็คือตอนนี้ยังไม่มีหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรงเกี่ยวกับเรื่องนี้